UFABETWINS เว็บรวมเทพข่าวกีฬา : ทำไม The Athletic จึงกลายเป็นสื่อฟุตบอลระดับโลกภายในเวลาแค่ 4 ปี ?
UFABETWINS BBC และ Sky Sports ถือเป็นสื่อที่คอฟุตบอลและคอกีฬาชาวไทยหลายคนคุ้นชินหากพูดถึงเรื่องของสื่อกีฬาของต่างประเทศ
ทว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชื่อของคลื่นลูกใหม่ที่มาแรงที่สุดอย่าง The Athletic ปรากฎตัวขึ้น และสร้างความแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะเว็บไซต์ชื่อไม่คุ้นเว็บนี้ รวมพลเหล่านักข่าวและนักเขียนระดับเกรด A ของด้านต่าง ๆ มารวมกันไว้จนเป็นเหมือนกับทีม อเวนเจอร์ และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ตอนนี้ The Athletic ทำเงินมากมาย เพราะใครก็ตามที่อยากอ่านบทความของพวกเขา “ต้องจ่ายตังค์ก่อน” ในโลกที่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตแทบจะฟรีทุกเว็บไซต์ ทำไม The Athletic
ยังขายได้ และทำกำไรเป็นพันๆ ล้าน ? ติดตามที่นี่ วารสารศาสตร์ไม่มีวันตาย “วารสารศาสตร์ไม่มีวันตาย” นี่คือสิ่งทีผู้เขียนได้ยินมาตลอดในช่วงเวลาที่ศึกษาในคณะนี้เมื่อครั้งยังเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อเติบโตขึ้นมาในแต่ละปี แต่ละปี ก็ได้เห็นโลกโลกาภิวัฒน์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สื่อวารสารที่เคยอยู่บนหน้ากระดาษแบบที่เคยมีเริ่มหายไป และย้ายแพลตฟอร์มไปอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต วารสารศาสตร์ไม่มีวันตาย มันยังคงอยู่เสมอตามคำ
กล่าวอ้าง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือมูลค่าที่วัดด้วยเงินทองต่างหาก แต่ก่อนหนังสือพิมพ์ และสื่อหน้ากระดาษมีราคาเสมอ คนไทยต้องจ่ายเงินเพื่อเสพข่าวสารและงานเขียน ขณะที่ปัจจุบันทุกอย่างขึ้นไปอยู่บนเว็บไซต์และมีให้อ่านฟรี ๆ สำนักข่าวต้องเปลี่ยนแปลงวิธีหารายได้ใหม่จากการรับเงินของผู้อ่านโดยตรง เป็นการเน้นไปที่การหาโฆษณาและผู้สนับสนุน แทบไม่เหลือสื่อใดที่เก็บเงินกับเนื้อหาอีกแล้วโดยเฉพาะในโลกอินเตอร์เน็ต เพราะตัวเลือกของสื่อนั้นมีมากมาย
ดังนั้นการจะให้คนอ่านยอมจ่ายเงินเพื่อได้สิทธิ์เข้ามาอ่านเนื้อหานั้นถือว่าเป็นอะไรที่ยากมาก โดยเฉพาะเนื้อหาในส่วนของกีฬา ที่ทุกวันนี้ทุกชนิดกีฬา ทุกแขนง ทุกแง่มุม ปรากฎบนหน้าสื่อฟรี ๆ มีให้อ่านแบบหลากหลายตามแต่ใจคุณต้องการเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม มีสื่อกีฬาสัญชาติอเมริกันที่ชื่อว่า The Athletic สื่อที่เพิ่งถือกำเนิดเปิดตัวได้เมื่อปี 2017 ด้วยสโลแกนว่า “เนื้อหาที่ลึกและฉลาดกว่าสำหรับแฟนตัวยง” ในขณะที่สื่อกีฬาระดับแม่เหล็กอย่าง BBC หรือ
Sky Sports ปล่อยข้อมูลให้อ่านกันฟรี ๆ The Athletic กลับเลือกทำในสิ่งที่แตกต่าง พวกเขามีกฎว่า ใครอยากจะอ่านข้อมูลในเว็บไซต์ของพวกเขาจะต้องจ่ายเงินสมัครค่าสมาชิกเสียก่อน และที่สุดยอดคือ ณ เวลานี้พวกเขามีผู้ยอมจ่ายค่าสมาชิกต่อเดือนมากกว่า 1,000,000 คนทั่วโลก และทำรายได้ไปแล้วมากกว่า 70 ล้านปอนด์ หรือราว 2.9 พันล้านบาท เลยทีเดียว เหตุผลเดียวที่พวกเขาทำเช่นนี้ได้เพราะกลยุทธ์ที่ไม่เหมือนใคร พวกเขามีเนื้อหาบทความแต่ละบทความที่เข้มข้น
เจาะลึกแบบที่สื่อไหนทำไม่ได้ ข้อมูลมันลึกเสียจนที่ว่าถ้าคุณไม่จ่ายงินอ่าน ถือว่าคุณได้พลาดข้อมูลสำคัญไปเลยทีเดียว พวกเขาทำได้อย่างไรกันนะ ? จะคิดเงินเขา ต้องเอาให้อยู่ The Athletic ก่อตั้งด้วย อเล็กซ์ เมเธอร์ และ อดัม ฮันส์แมนน์ 2 อดีตพนักงานของ Strava แอปพลิเคชั่นฟิตเนสชื่อดัง พวกเขามาพบกันที่งานสัมนาของ Y Combinator บริษัทจัดทำหลักสูตรอบรมนักบริหารออนไลน์ ซึ่งมุ่งเน้นที่ผู้บริหารหรือผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กซึ่งเพิ่งเริ่มตั้งตัว
หรือที่เรียกว่า Start-up นั่นเอง พวกเขารักกีฬาและอยากจะทำสื่อกีฬาออนไลน์ออกมา เพียงแต่ว่าสื่อกีฬานั้นคือ “เรด โอเชียน” (Red Ocean) หรือธุรกิจที่มีการชิงความเป็นใหญ่และฟาดฟันกันด้วยเม็ดเงินอย่างหนักหน่วง ดังนั้นการที่พวกเขาจะทำสื่อในแบบฉบับของตัวเอง พวกเขาต้องมีบางสิ่งที่แตกต่างออกไป โดยพวกเขาจะไม่ให้มีโฆษณาแม้แต่ตัวเดียวปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ของพวกเขา เพราะพวกเชื่อว่าคนอ่านจะยอมเสียเงินเพื่อเข้าถึงงานเขียนที่ดี และหน้าเพจที่ใส
สะอาด อ่านง่ายสบายตา The Athletic ต้องการเป็นสื่อกีฬาที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเชิงลึก ซึ่งสื่ออื่นทำได้ไม่ครอบคลุมมากพอ อย่างน้อยพวกเขาก็เชื่ออย่างนั้นจึงได้สร้างเว็บไซต์นี้ขึ้นมา โดยพวกเขาวางเป้าหมายว่าทุกชนิดกีฬา หรือแม้แต่กระทั่งทุกสโมสรกีฬาชื่อดัง จะต้องมีนักข่าวท้องถิ่นผู้เชี่ยวชาญอยู่ในสังกัดของพวกเขาโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด และลึกที่สุดมานำเสนอ ขณะที่สื่ออื่น ๆ เขียนบทความและข่าวลงเว็บไซต์ทั้งวัน แรกเริ่มนั้น The Athletic
เลือกลงบทความเพียง 3-4 ชิ้นต่อ 1 วันเท่านั้น สาเหตุเพราะบุคลากรระดับวงในที่แท้จริงที่พวกเขามีนั้นมีปริมาณจำกัด แม้ว่าพวกเขาจะพยายามรวบรวมยอดฝีมือจากทั่วโลก “พวกเรารอเวลา เรารอให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแต่ละฉบับเจ็บตัวจากรายได้จนเลือดซิบ และจากนั้นเราจะเข้ามาเจอกับพวกเขาในตอนท้ายสุด” อเล็กซ์ เมเธอร์ ซีอีโอ กล่าวถึงวิธีสร้างสื่อในแบบของเขา อเล็กซ์ เมเธอร์ ยืนยันว่าการรวบรวมเอาคนวงในมารวมกันเป็นกลยุทธ์ที่ยังไม่มีใครทำ พวกเขาต้องการสร้าง
กลุ่มคนที่ผลิตงานเขียนที่ได้เนื้อหา สาระ และ บันเทิง ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นไม่ใช่นักข่าววงในคนใดก็ได้ที่จะได้รับสิทธิ์เป็นทีมงานของ The Athletic แต่พวกเขาเหล่านั้นต้องมีลีลาการเขียนและสื่อถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงจริตอีกด้วย “การที่คุณจะเก็บเงินจากคนอ่านได้เนี่ย แสดงว่าคุณต้องมีความแตกต่างแบบที่คนอ่านอดใจรออ่านไม่ไหว ดังนั้นเราจึงจ้างพนักงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเขียนในกีฬาแต่ละชนิดจริง ๆ ตอนนี้เรามีทั้งฮอกกี้, เบสบอล, NBA, NFL แล้วก็ฟุตบอล
ด้วย เราต้องการสร้างชุดข้อมูลที่ทรงพลังที่สุด เราอาจจะเน้นเนื้อหาที่กีฬาเป็นหลัก แต่เราจะเพิ่มมุมมองระดับประเทศหรือระดับโลกให้คนได้รู้เป็นวงกว้างด้วย” “นักเขียนถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเรา เราลงทุนกับผู้คนที่ยอดเยี่ยมและพร้อมจะคิดหาสิ่งใหม่ตลอดเวลา เราเริ่มขยับขยายไปเรื่อย ๆ จนตอนนี้เรามีกองบรรณาธิการกว่า 300 กอง เพื่อให้ได้งานที่รวดเร็วและมีคุณภาพที่สุด นักเขียนของเราแต่ละคนจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ และรู้ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรเมื่อ
เริ่มพิมพ์ตัวอักษรแรก” เมเธอร์ กล่าวต่อ ขณะที่บริษัทสื่ออื่น ๆ กำลังกังวลกับค่าโฆษณาที่เริ่มลดน้อยลงราว 40-60% The Athletic ซึ่งมีผู้ติดตามครบ 1 ล้านคนในเวลานี้กำลังลอยตัวด้วยวิธีการที่แตกต่าง วิธีการแบบเดียวกับที่หนังสือพิมพ์เคยทำ นั่นคือจ่ายเงินก่อนคุณจึงจะได้อ่าน เพียงแต่พวกเขายกเอาเนื้อหาที่เคยอยู่ในกระดาษลงไปอยู่บนเว็บไซต์ ซึ่งจะว่าไป นี่คือวิธีที่สองผู้ก่อตั้งอย่าง เมเธอร์ และ ฮันส์แมนน์ เข้าใจเป็นอย่างดี เพราะ Strava บริษัทเก่าของพวกเขา
เป็นแอปที่ผู้ใช้ต้องยอมเสียเงินเพิ่ม หากต้องการเข้าถึงฟังก์ชั่นการใช้งานแบบครบ ๆ ที่สำคัญที่สุด พวกเขารู้ดีว่าสิ่งเดียวที่จะทำให้สมาชิกจ่ายค่าบริการแล้ว ติดใจ ไม่ย้ายค่าย ยอมจ่ายเงินทุก ๆ เดือนก็คือคุณภาพ ซึ่ง ณ ตอนนี้รายได้ระดับ 70 ล้านปอนด์ ก็พอจะบอกถึงความสำเร็จของพวกเขาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว สมน้ำสมเนื้อ ไม่ว่าจะสัมภาษณ์ที่ใด ซีอีโอของ The Athletic มักจะบอกเสมอว่า พวกเขาให้ความสำคัญเกี่ยวกับบุคลากรในองค์กรเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะเหล่านักเขียนที่เป็นระดับหัวแถวของแต่ละเรื่องที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งไม่ง่ายเลย เพราะคนที่เก่งนั้นมักจะมีสังกัดอยู่แล้ว ดังนั้นพวกเขาต้องดึงดูดใจผู้เขียนเกรด A เหล่านี้ให้ได้ และมี 2 สิ่งเท่านั้นที่พวกเขาเชื่อว่าทรงพลังที่สุด หนึ่งคือ วิสัยทัศน์ และสองคือ ค่าจ้าง The Athletic คว้าตัวนักเขียนระดับแถวหน้าอย่าง อเล็กซ์ เคย์-เจลสกี้ บรรณาธิการหน้ากีฬาของ The Times, โอลิเวอร์ คีย์ ยอดนักเขียนด้านฟุตบอลของ The Guardian, แดเนี่ยล เทย์เลอร์ และ
เจมส์ เพียร์ซ จาก Liverpool Echo และ เดวิด ออร์นสทีน จาก BBC วิสัยทัศน์ที่พวกเขานำเสนอเพื่อดึงดูด ก็คือการทำสื่อกีฬาชนิดใหม่ที่เจ๋งที่สุด และสามารถลอยตัวได้ในวันที่สื่ออื่น ๆ ช่วงชิงลูกค้าที่เข้ามาซื้อโฆษณาจนต้องตัดราคากันเอง ส่วนเรื่องเงินเดือนนั้น นิตยสาร GQ ที่สัมภาษณ์ 2 ซีอีโอของ The Athletic อ้างว่า นักข่าวและนักเขียนระดับสูงที่พวกเขาคว้าตัวมานั้น มีรายได้ต่อเดือนราว 250,000 ปอนด์ หรือราว ๆ 10 ล้านบาทเลยทีเดียว สาเหตุที่พวกเขายอมทุ่มขนาดนั้น
นอกจากจะเป็นเรื่องของฝีมือในการทำข่าวและงานเขียนแล้ว นักข่าวเหล่านี้ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ พวกเขาเหล่านี้จะสามารถดึงดูดแฟนคลับของตัวเองให้เข้ามาสมัครสมาชิกของ The Athletic ได้โดยอัตโนมัติ หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็หมายถึงนักข่าวคนเดียว สามารถนำสมาชิกหน้าใหม่ ๆ เข้ามาจ่ายเงินค่ารายเดือนอีกเป็นพัน ๆ คน นักข่าวคนใดมีดาวน์ไลน์ของตัวเองมากเท่าไหร่ The Athletic ก็จะมีเงินพิเศษให้พวกเขาเหล่านั้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพวกเขาจ่ายเยอะ แต่พวกเขาก็ได้อะไรกลับมาเยอะไม่แพ้กัน ขณะที่ในส่วนของนักข่าววงในสายอื่น ๆ หรือนักข่าวท้องถิ่นด้านอื่น ๆ ที่ไม่ดังเท่า ก็ได้สิทธิ์ในการหาดาวไลน์เช่นกัน เพียงแต่ว่ารายได้ที่เป็นเงินเดือนจะลดน้อยลงไปตามลำดับ ส่วนวิธีการหาเหล่ายอดฝีมือของแต่ละแขนง ไม่ว่าจะดังมากหรือดังน้อย หรือแม้กระทั่งงานดีแต่ยังไม่ดังของ The Athletic อาจจะโหดร้ายไปสักนิด แต่มันเกิดขึ้นจริงในวงการสื่อ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
สื่อหลายเจ้าประสบปัญหาการขาดทุนและปิดตัวไปมากมาย โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่นที่เป็นแหล่งรวมตัวของนักข่าวที่เข้าใจบริบทและเรื่องราวของท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง The Atheletic รอเวลาจนสื่อเหล่านี้เจ๊ง และดึงตัวเอานักข่าวท้องถิ่นระดับแต่ละที่มารวมตัวกัน เพื่อสร้างทีมข่าววงในที่สามารถผลิตเนื้อหาได้ดีที่สุด
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล